รายงานสรุปเสวนาวิชาการ จากอนุสัญญามินามาตะ สู่การควบคุมปรอทในประเทศไทย


เป็นเวลากว่า 8 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้ทำภาคยานุวัติเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยสารปรอท (The Minamata Convention on Mercury) เพื่อร่วมปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยสารปรอท และสารประกอบปรอทจากกิจกรรมของมนุษย์สู่อากาศ แหล่งน้ำ และดิน ทั้งนี้เนื่องจากสารปรอททั้งที่เกิดขึ้น จากกิจกรรมของมนุษย์หรือที่มีอยู่ในธรรมชาติสามารถตกค้างและคงอยู่ได้ยาวนานในสิ่งแวดล้อม สามารถเคลื่อนย้ายไปในชั้นบรรยากาศได้ไกลข้ามประเทศหรือข้ามทวีป และยังสามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศและในร่างกายมนุษย์จนกระทั่งส่งผลอันตรายร้ายแรงได้ ทั้งนี้ได้มีงานศึกษาในหลายพื้นที่ของประเทศไทยที่ตรวจพบการปนเปื้อนสารปรอทในสิ่งแวดล้อมและมีการสะสมในสิ่งมีชีวิต เช่น ปลา และร่างกายของคน ในระดับที่ควรจะต้องมีการเฝ้าระวัง

 

ด้วยเหตุที่สารปรอทมีอันตรายสูงต่อสุขภาพของประชาชน สถาบันพัฒนาระบบประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จึงได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ThaiPBS และมูลนิธิบูรณะนิเวศ  ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดเสวนาวิชาการเรื่อง จากอนุสัญญามินามาตะสู่การควบคุมปรอทในประเทศไทย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมสานใจ 1/1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมปรอทในทุกมิติ รวมถึงร่วมกันสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปกป้องสุขภาพของกลุ่มเปราะบางจากมลพิษปรอท โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยในพื้นที่เสี่ยง

 

คลิกด้านล่างเพื่อ Download รายงานสรุปเสวนา