แผ่นพับ คลิตี้โมเดล : เปลี่ยนความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ


คลิตี้โมเดล : เปลี่ยนความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ

 

“ชุมชนคลิตี้ล่ง” ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของ ม. 4 ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ และ ม. 3 ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ได้ถูกกันออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เนื่องจากตั้งอยู่ท่ามกลางผืนป่าตะวันตก ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่าของประเทศไทย โดยมีสายนน้ำคลิตี้ ที่เกิดจากการบรรจบกันของห้วยดิกะกับห้วยผึ้ง รวมกันเป็นลำห้วยคลิตี้ ไหลผ่านใจกลางชุมชน ลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ แม่น้ำแม่กลอง และสุดสายที่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงวิถีและจิตวิญญาณของชาวบ้านคลิตี้ล่างมาอย่างช้านาน

 

ปี พ.ศ. 2510 บริษัท ตะกั่ว คอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการแต่งแร่ โดยตั้งโรงแต่งแร่อยู่ต้นน้ำลำห้วยคลิตี้ และได้ปล่อยสารตะกั่วลงสู่ลำห้วย โดยเมื่อปีพ.ศ. 2518 ชาวบ้านสังเกตเห็นน้ำในลำห้วยขุ่นและมีกลิ่นเหม็น ทำให้ชาวบ้านที่ใช้น้ำเกิดอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 สื่อมวลชนได้เผยแพร่ภาพผลกระทบจากการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้สู่สังคมภายนอกซึ่งเป็นข่าวโด่งดังในสมัยนั้น ทำให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเข้ามาปักป้ายว่าเป็นพื้นที่อันตรายห้ามใช้ประโยชน์ รวมทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมาติดป้ายให้ชาวบ้านงดกินสัตว์น้ำและงดใช้น้ำชั่วคราว แต่ไม่มีการฟื้นฟูลำห้วยอย่างจริงจัง ทำให้ปีพ.ศ. 2546 ชาวบ้านได้รวมตัวกันใช้สิทธิทางกระบวนการยุติธรรมสิบปีต่อมา วันที่ 10 มกราคม 2556 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้แก่ชาวบ้านและทำการฟื้นฟูลห้วย

 

คลิกที่รูปเพื่อ Download ไฟล์ขนาด 6.1 MB