แผ่นพับ ลมหายใจของภูเขาทองคำ จ.เลย
ภูเหล็ก “บ้าน” หลังสุดท้าย
รายงานการไต่สวนประกอบคําขอประทานบัตรทําเหมืองแร่ของบ.ทุ่งคําฯ ระบุว่า พื้นที่ตามคําขอประทานบัตร 104/2538 (ภูเหล็ก) เป็นป่าเบญจพรรณซึ่งมีความสมบูรณ์ของป่าน้อยรวมทั้งไม่มีทางหลวงและทางน้ําสาธารณะตัดผ่านหรืออยู่ในระยะ 50 เมตรแต่อย่างใด
ข้อมูลดังกล่าวขัดกับความเป็นจริงไม่น้อย เพราะป่าภูเหล็กถือได้ว่าเป็นพื้นที่ลุ่มน้ํา ชั้น 1A ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามาก มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง รวมทั้งมีร่องน้ํา มีโครงข่ายตาน้ําซับน้ําซึมแทรกประสานอยู่ใต้ดิน วิถีชีวิตของชาวบ้านในต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ยึดโยงอยู่กับความอุดม สมบูรณ์ของป่า ผูกสัมพันธ์อยู่กับร่องน้ําและตาน้ําเหล่านั้น ข้าวปลาและอาหาร เป็นสิ่งที่ชาวบ้านไม่ต้องซื้อ หากอาศัยการลงแรง หาอยู่หากินแต่พอดี ไม่บุกรุกแผ้วถางป่า เพราะการรักษาป่าก็เหมือนการรักษาชีวิต
ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนได้จากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านหลังการเปิดเหมืองบนภูทับฟ้าและป่าบอน เพราะในขณะที่วิถีของชาวบ้านยังคงหาอยู่หากินตามปกติ แต่เมื่อน้ําและป่าไม่อยู่ในสภาพเดิม ชีวิตก็จําต้องเปลี่ยนไป เริ่มจากการต้องงดใช้น้ํา ไม่สามารถจับสัตว์น้ํา เช่น หอยขม ขึ้นมากินได้ รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว รวมทั้งพืชผักตามร่องน้ํา ล้วนอยู่ในสภาพปนเปื้อนโลหะหนักและสารเคมีที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ และไม่อาจเรียกได้ว่า “พอเพียง” กับการมีชีวิตที่ดีแต่อย่างใด
หลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านต้องหมดเงินไปในการซื้อกับข้าว ซื้อน้ําเพื่อการบริโภค เช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพที่เริ่มก่อตัว....
คลิกที่รูปเพื่อ Download ไฟล์ขนาด 8.3 MB