โครงการ The Development of HIA Framework for the Philippines ได้รับรางวัลชนะเลิศ The Atlantic Senior Fellows Award 2019 ประกาศรางวัลที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
- ประกาศ สผ. เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนจัดรับฟังความเห็น
- ประกาศกำหนดโครงการกิจการหรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงาน EIA จำนวน 35 ประเภทและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงาน EIA ตามเอกสารท้ายประกาศ 4 ของ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงาน ผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA (รายงาน Monitor) ที่กำหนดให้ผู้ดำเนินการ หรือผู้ขออนุญาต จะต้องจัดทำรายงาน Monitor ภายหลังรับอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจการแล้ว ปีละ 1 ครั้ง
ในการพัฒนา HIA Framework ของประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการผนวกรวมแนวคิดและแนวทางการทำงาน CHIA เข้าไปด้วย
- ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงาน IEE และรายงาน EIAในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 27ก: 19 เมษายน 2561) ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรา 46, 47, 48, 49, 50, 51 ของหมวด 3 การคุ้มครองส่งแวดล้อม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
- ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน EHIA เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 58 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งมีการลดบทบาทขององค์กรอิสระในขั้นตอนการพิจารณาให้ความเห็นต่อรายงาน
- ประกาศยกเลิกความในลําดับที่ 8 ในเอกสารท้ายประกาศ 3 ของประประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทํารายงาน EIA ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
-คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก. พิจารณารายงาน EIA
- มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการใน ลำดับที่ 20.7 ที่มีพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555
- ส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น ด้านพลังงานสะอาด ระบบรางยานยนต์ไฟฟ้า
- ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ
- รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญกับการปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน บริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรน้ำ เร่งรัดการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม และการนำหลักการการพัฒนาเมืองสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในพื้นที่มาบตาพุด
WHO-SEARO ได้สนับสนุนกระบวนการพัฒนา HIA Framework ของประเทศภูฐาน ซึ่งได้ผนวกรวมแนวคิดการทำ CHIA เข้าไปด้วย
- ประกาศเพิ่มเติมประเภท ขนาดโครงการที่ต้องทำ EHIA จาก 11 เป็น 12 ประเภท
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก. พิจารณารายงาน EIA โครงการด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จังหวัด
- ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน IEE และรายงาน EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และ อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา)
- ประกาศการเปลี่ยนแปลงรายรายละเอียดคำจำกัดความของคำว่า “ระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบก” ในข้อ 2 ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 และการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการลำดับที่ 3 ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2557)
แนวคิดและกรณีศึกษาการทำ CHIA ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ HIA ของ WHO-SEARO
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก. ในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม, คชก. ของโครงด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน กรุงเทพมหานคร และ คชก. ของอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคที่สนับสนุน ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
- มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการลำดับที่ 18 ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555
- มีข้อเสนอ ปฏิรูป EIA จากคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สปช. ราชบัณฑิตสภา สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กอสส.
- วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกัน 15 องค์กร
- สปช. เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ศาลสิ่งแวดล้อม
- กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ บรรจุเรื่อง EHIA
- ประกาศลดประเภท ขนาดโครงการที่ต้องทำ EIA จาก 36 เป็น 35 ประเภท โดยย้ายอุตสาหกรรมผลิตถ่านโค้กเป็นโครงการที่ต้องทำ EHIA
- รัฐบาลมีนโยบาย "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
- สนับสนุนการเปิดสัมปทานเหมืองแร่ โดยเฉพาะนโยบายสำรวจและให้สัมปทานเหมืองทองคำทั่วประเทศ
- นโยบายพลังงานสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ริเริ่มการพัฒนา CHIA ในประเทศพม่า
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก.
- มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการลำดับที่ 3 และลำดับที่ 1 ในหัวข้อย่อย 1.5 ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 และมีการเพิ่มเติมประเภทโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA จาก 35 ประเภท เป็น 36 ประเภท
- ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน IEE และรายงาน EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- เกิดไฟไหม้บ่อขยะหลายแห่ง และพบว่ามีการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรมในบ่อขยะชุมชน
- เรือบรรทุกน้ำมันดิบล่มในทะเลอ่าวไทย
- มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการลำดับที่ 14 และลำดับที่ 25 ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก.
- น้ำมันดิบรั่วไหลที่เกาะเสม็ด จ.ระยอง
- มีการลักลอบทิ้งรองเท้ามือสองนับล้านคู่ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
- ลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อที่ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
- พบการปนเปื้อนสารหนู ไซยาไนด์ และโลหะหนักบางชนิด จากการทำเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย
กรกฎาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และเครือข่าย ร่วมกันจัดประชุมวิชาการเอชไอเอชุมชนครั้งที่ 1 ในหัวข้อ เอชไอเอชุมชนสร้างอำนาจทางปัญญาในการกำหนดอนาคตตนเองและสังคม มีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนมากกว่า 500 คน
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก. พิจารณารายงาน IEE และ EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นประธานกรรมการในการพิจารณารายงาน
- มีการแก้ไขรายละเอียดของประกาศกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงาน EIA และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงาน EIA
- ประกาศเพิ่มเติมประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำ EIA จาก 34 เป็น 36 ประเภท
- ยกเลิกข้อความในข้อ 1.2 ตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน EHIA พ.ศ. 2552 วันที่ 29 ธันวาคม 2552 ที่กำหนดให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อเรียนเรียนจากโครงการหรือกิจการภายใน 30 วัน
- HIA co-unit ภายใต้ สช. สนับสนุนการทำงาน HIA Commission, HIA Consortium, CHIA Network, ASEAN Focal Point on HIA (AFPHIA) ปัจจุบันได้ยกเลิก HIA co-unit แล้ว
- สมัชชาสุขภาพมีมติ กำหนดเป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
- มีการทำเอชไอเอชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวน 13 พื้นที่ เกิดการทบทวนหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลให้มีความรอบคอบรัดกุมมากยิ่งขึ้น และได้ถูกบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายในการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และสำนักงานกำกับกิจการพลังงานได้พัฒนา Code of Practice เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการใช้ในการประเมินผลกระทบโดยให้ความสำคัญกับประเด็นสุขภาพด้วย
- พบการปนเปื้อนพีนอล โลหะหนัก สารอินทรีย์กึ่งระเหยต่างๆ จากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
- พบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม 40 พื้นที่ในภาคตะวันออก
- ทำการบำบัดพื้นที่ปนเปื้อนในโรงงานแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย
- พัฒนาอุตสาหกรรมบนหลักการของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ ด้วยการนำหลักการ 3Rs และแนวคิดการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษด้วยการปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และส่งเสริมการพัฒนาเมืองทีลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก สร้างเกณฑ์ของความสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม และ สนับสนุนหลักการ PPP (Polluter Pay Principle)
- สร้างความตระหนักและจิตสำนึกทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมให้มีการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก. พิจารณารายงาน EIA และการแต่งตั้ง คชก. ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555)
- สผ. ประกาศเรื่องการนับระยะเวลาเริ่มต้น และระยะเวลาสิ้นสุดของการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของโครงการหรือกิจการที่ต้องทำรายงาน EHIA
สช. ร่วมกับโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายผังเมืองเพื่อสังคม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่
- ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน IEE และรายงาน EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ อําเภอบางละมุงและอําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อําเภอบ้านแหลม อําเภอเมืองเพชรบุรี อําเภอท่ายาง และอําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี อําเภอหัวหินและอําเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก. พิจารณารายงาน IEE และรายงาน EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมประกาศประเภทขนาดโครงการที่อาจกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง จำนวน 11 ประเภทโครงการที่ต้องทำ EHIA
- แก้ไขรายละเอียดประกาศกำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน EHIA ในลำดับที่ 7 และลำดับที่ 9
สช. ตั้งศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Co-Unit) ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Commission)
HIA Co-Unit ยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยมีการทบทวนข้อมูลทางวิชาการและการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศประกอบ จัดประชุมปรึกษากับหุ้นส่วนการทำงานที่สำคัญ จัดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
8 พฤศจิกายน 2552 นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน คสช. ลงนามในประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการทำเอชไอเอฉบับที่ 1
คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จัดการประชุม 2008 Asia and Pacific Regional Health Impact Assessment Conference ซึ่งมีข้อเสนอให้พัฒนากลไกเอชไอเอในประชาคมอาเซียน เสนอเอกสารเรื่อง “HIA: A Foundation for the well-being of the ASEAN Community” เข้าสู่การประชุมอาเซียนซึ่งอยู่ในส่วนงานของเสาสังคมและวัฒนธรรม
ผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ม.67 วรรคสอง นำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการสี่ฝ่าย เพื่อปรับปรุงระบบ EIA โดยมีการกำหนดกติกาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน กำหนดประเภทโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งต้องวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชุดเฉพาะกาลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากมีการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จึงออกประกาศกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงาน EIA เพิ่มจาก 22 เป็น 34 ประเภทโครงการและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมประกาศหลักเกณฑ์ในการจัดตั้ง คชก. ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงาน EIA
9 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดให้มีการทำ SEA
29 ธันวาคม 2552 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งผนวกไว้ในรายงานอีไอเอ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีสาระสำคัญสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ฯ เอชไอเอที่ประกาศโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานยกร่างระบบ กลไก หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ซึ่งสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 มีมติเห็นชอบข้อเสนอของคณะทำงานฯ
2551-2552 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) มีการจัดทำแนวทางและศึกษากลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
19 มีนาคม 2550 ประกาศใช้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้รับรองสิทธิของประชาชนในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสิทธิของประชาชนในการร้องขอให้ทำ HIA และมีส่วนร่วมในการทำ HIA
9 เมษายน 2550 เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกได้ยื่นหนังสือขอใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ให้ประเมินผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดซึ่งขณะนั้นรัฐบาลกำลังพิจารณาแผนขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3
20 สิงหาคม 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 รับรองสิทธิชุมชน และให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) กรณีโครงการและกิจกรรมที่อาจกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
- ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงาน IEE และรายงาน EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และอำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา)
- สร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และมีการจัดตั้งเครือข่ายของอุตสาหกรรม
- จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับศักยภาพในแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที
- ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเน้นการลดและป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด
- ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และการจัดหาพลังงานภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
- รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
- พบการปนเปื้อน TCE และ PCE ที่ ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และเป็นกรณีแรกของประเทศไทยที่ได้ทำการบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษ
สผ. ออกแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กำหนดให้เจ้าของโครงการต้องรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างน้อย 2 ครั้ง ในการทำ EIA
- จัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฏีกา
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กำหนดให้โครงการของรัฐต้องมีการรับฟังความเห็นอย่างน้อย 2 ครั้ง
- ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน IEE และรายงาน EIA ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (พื้นที่อำเภอบ้านแหลมอำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหินและอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
- ประกาศโครงการหรือกิจการสามารถขอรับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงาน EIA (โครงการประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม และการจัดสรรที่ดินที่เป็นโครงการบ้านเอื้ออาธรของการเคหะแห่งชาติ)
พบการปนเปื้อนแคดเมียมในลุ่มน้ำแม่ตาว
- รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงระบบ EIA
- มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้แทนจากศาลฎีกาของประเทศต่างๆในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ สำนักงานแผนงานสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร (17-18 มิ.ย.) ที่ประชุมยอมรับในถ้อยแถลงร่วมกันที่เรียกว่า “Bangkok Statement” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันในกิจกรรมและแผนงานต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคคลากรทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับภูมิภาคและในระหว่างประเทศต่อไป เป็นที่มาของงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ตั้งกองประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
การปฏิรูประบบราชการ ตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรับโครงสร้างการผลิตในภาคอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ และใช้วัตถุดิบในประเทศให้สมดุลกับการพึ่งพาจากต่างประเทศ
- ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
- ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตที่ได้มาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
- ยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากชุมชนและประชาชนในการควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพอนามัย และ คุณภาพชีวิตของประชาชน
- ผลักดันหลักการผู้ก่อมลภาวะเป็นผู้จ่ายและระบบกรรมสิทธิ์ร่วมมาใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
- กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาควบคู่กับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ
- ควบคุมการนำเข้าสารเคมี สารพิษและวัตถุอันตรายตามมาตรฐานสากลทีเป็นที่ยอมรับ
- ส่งเสริมการใช้พลังงานแบบผสมผสาน และการจัดหาพลังงานทดแทนเพื่อการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พบการปนเปื้อน TCE และ DEC ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน
- มีการกำหนดค่ามาตรฐานสารอินทรีย์ระเหยในดินและน้ำใต้ดิน
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดตั้งแผนงานวิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ HPP-HIA
- ประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน EIA ฉบับที่ 4 เพิ่มประเภทของโครงการอาคารชุดพักอาศัย หรือโรงพยาบาล/ สถานพยาบาล และโครงการอาคารอยู่อาศัยรวม และให้เสนอรายงาน EIA ต่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมาย และฝ่ายเลขานุการของ คชก. (ยกเลิก 16 มิถุนายน 2552)
- ประกาศ กำหนดประเภทและขนาดของโครงการ หรือกิจการ และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน IEE ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (จังหวัดภูเก็ต กระบี่ และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี)
ตรวจพบการปนเปื้อนเอเย่น ออเรจน์ ที่สนามบินบ่อฝ้าย จ.ประจวบคีรีขันธ์
การปนเปื้อนตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ที่ จ.กาญจนบุรี เป็นประเด็นสาธารณะ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
เน้นการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศหลังจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง วิกฤติการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการมากขึ้น เน้นการทำงานแบบเครือข่าย พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมมลพิษ กำกับและควบคุมมิให้การกระจายอุตสาหกรรมออกสู่ชนบทส่งผลกระทบในเชิงทำลายสภาวะแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาการปนเปื้อน VOCs ในดินและน้ำใต้ดิน ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน โดยได้แนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มมีการบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษ
ตรวจพบการปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยในอากาศ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ทำให้ต้องย้ายโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร
- มีงานศึกษาแนวทางการประเมินผลกระทบทางสังคม - Social Impact Assessment (SIA)
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แบ่งหน่วยงานทางด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ออกเป็น 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอำนาจการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปยังท้องถิ่น ปรับปรุงระบบEIA โดยเฉพาะขั้นตอนการพิจารณาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแต่งตั้งคณะผู้ชำนาญการพิจารณารายงานอีไอเอ (คชก.)
- ประกาศกำหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงาน EIA จำนวน 11 ประเภท(ยกเลิก 16 มิถุนายน 2552)
- ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการ EIA (ยกเลิก 16 มิถุนายน 2552)
- ประกาศกำหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงาน EIA ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ซึ่งได้เพิ่มเติมเติมประเภทและขนาดของโครงการจากเดิมอีก 8 ประเภทโครงการ (ยกเลิก 16 มิถุนายน 2552)
- ประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงาน EIA ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ของโครงการที่ได้เพิ่มเติมจากเดิม 8 ประเภทโครงการ (ยกเลิก 16 มิถุนายน 2552)
ประกาศประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA เพิ่มเติมเป็น 22 ประเภทโครงการ
รัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ประกอบกับกระแสโลกาภิวัตน์ ผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างเต็มตัว
ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ริเริ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีการจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง (Mekong River Commission) ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
เกิดการปนเปื้อนสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนท์ ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง
ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลรุนแรงและเริ่มมีปัญหาผลกระทบข้ามแดน
พบการปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่ายและโลหะหนัก ที่นิคมมาบตาพุด จ.ระยอง
ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออกของไทย มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากขึ้น มีโรงงานใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนสูงขึ้นโดยร่วมทุนกับต่างประเทศ
พบการปนเปื้อนสารหนูจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ที่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ในดินและบ่อน้ำของชุมชนที่ใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบเหมืองเจ็บป่วยและเสียชีวิต
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำ รายงาน EIA
การสำรวจพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเมื่อปี 2525 ทำให้รัฐบาลริเริ่มแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2529 ที่ ชุมชนมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง นอกจากนี้ได้มีการวางเป้าหมายประเทศไทยให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรม 25 แห่งกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคกลาง
ทิศทางการพัฒนาที่เน้นอุตสาหกรรมทำให้สารพิษปนเปื้อนสะสมในดิน ในน้ำ ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน รวมถึงอากาศ ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย นอกจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังพบปัญหาการปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่และการใช้สารเคมีในการแต่งแร่ การขุดเจาะปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นในภาคการเกษตร
ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่ต้องมีรายงานเกี่ยวกับการศึกษาและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA 10 ประเภท โดยเป็นการกำหนดเฉพาะโครงการ/กิจการขนาดใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องมีการจัดทำรายงาน EIA ตั้งแต่ในระยะเตรียมงาน และต้องเสนอรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินการ
ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522
เนื่องจากมีการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น และให้ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 วันที่ 31 ธันวาคม 2521
โดยมีเพิ่มเติมให้
1) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่อันเหมาะสมยิ่งขึ้น
2) การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องเสนอรายงานเกี่ยวกับการศึกษา และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ต่อสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งแรกที่มีการบัญญัติเกี่ยวกับการทำ EIA ไว้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อม
เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เน้นการส่งออก เช่น น้ำตาล สิ่งทอ ปูนซีเมนต์ พัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางเกษตร เช่น เยื่อกระดาษ อาหารกระป๋อง อาหารสัตว์ สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ขนาดเบา และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโลหะและอโลหะ วางแนวทางการสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งรัดให้มีอุตสาหกรรมหนักที่เป็นฐานของอุตสาหกรรม เช่น ถลุงเหล็ก ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเคมี ขยายตัวของแร่ที่ได้ขุดแล้ว เช่น ดีบุก แบไรท์ วุลแแฟรม แมงกานีส พลวง วางแนวทางและมาตรการเพื่อเร่งการผลิตจากแหล่งแร่ที่สำรวจพบใหม่ เช่น แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน และเกลือหิน
ประกาศใช้ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นฉบับแรกของประเทศไทย มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นสำนักงานเลขานุการ ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
ให้มีการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกิดความจำเป็น และเกิดประเด็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
ไม่มีระบบการประเมินผลกระทบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจโครงการพัฒนา
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของสังคมไทยเกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น นโยบายสัมปทานป่าไม้และการสร้างเขื่อนทำให้พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยลดลง สภาพของดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ทรัพยากรทางทะเลลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ต่อมาการขยายตัวของเมือง การพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงนโยบายการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ปอ มันสำปะหลัง อ้อย ทำให้สังคมไทยเริ่มประสบกับปัญหาด้านคุณภาพของสิ่งแวดล้อม อาทิ การเอาปอไปแช่ตามแหล่งน้ำและการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่ลำน้ำสาธารณะทำให้แม่น้ำ คูคลองเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ ปัญหาขยะจากภาคครัวเรือน