การลงพื้นที่ศึกษาดูงาน คณะผู้ทรงคุณวุฒิกำกับทิศงานวิจัย คณะนักวิจัย และหน่วยงานภาคีร่วมวิจัย กรณีการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัคราฯ


วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2567 คณะผู้ทรงคุณวุฒิกำกับทิศงานวิจัย คณะนักวิจัย และหน่วยงานภาคีร่วมวิจัย ลงพื้นที่จังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก

วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2567 คณะผู้ทรงคุณวุฒิกำกับทิศทางงานวิจัย คณะนักวิจัยและหน่วยงานภาคีร่วมวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง การเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน: กรณีศึกษา การประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ลงพื้นที่ ณ จังหวัดพิจิตร และพิษณุโลก

Download เอกสารประกอบการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน

 

 

วัตถุประสงค์ของการดูงาน

ด้วยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้สนับสนุนให้สถาบันพัฒนาระบบประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นําการสร้างสุขภาวะ (ม.ค.น.) ดําเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การเฝ้าระวังผลกระทบ ทางสุขภาพโดยชุมชน: กรณีศึกษาการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคําของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จํากัด (มหาชน)” โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในพื้นที่เสี่ยง ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ได้รู้เท่าทันความเสี่ยง และร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดการร่วมมือกันในการเฝ้าระวังมลพิษสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในการดําเนินโครงการฯ ดังกล่าว ทีมวิจัยได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและการได้รับความ ร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงภาคชุมชนและภาคเอกชน เพื่อนําไปสู่การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิกํากับทิศทางงานวิจัยครั้งที่ 1/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวะพลา เป็นประธานการประชุม ได้มีมติให้มีการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 เพื่อให้เกิดเรียนรู้ของ กระบวนการและกลไกในทํางานเพื่อการเฝ้าระวังและรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงของหน่วยงานราชการและท้องถิ่น รวมถึงกลไกของภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่กําลังดําเนินการอยู่ในพื้นที่ รวมถึงเพื่อประสานความร่วมมือในการดําเนิน โครงการวิจัยฯ โดยโครงการฯ จะนําข้อมูลจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบกิจกรรมของการ ลงพื้นที่ในครั้งต่อไป ตลอดจนเพื่อเสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนของการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป